วันพฤหัสบดี, เมษายน 25, 2024
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ข่าวประชาสัมพันธ์

ขอเชิญชวนส่งบทความ/ผลงานเพื่อนำเสนอในงาน THAILAND QUALITY CONFERENCE & The 22 Symposium on TQM Best Practices in Thailand ปี 2564 มูลนิธิส่งเสริมทีคิวเอ็มในประเทศไทย (มทส.)

ขอเชิญชวนส่งบทความ/ผลงานเพื่อนำเสนอในงาน THAILAND QUALITY CONFERENCE & The 22 Symposium on TQM Best Practices in Thailand ปี 2564 มูลนิธิส่งเสริมทีคิวเอ็มในประเทศไทย (มทส.)

        ด้วยมูลนิธิส่งเสริมทีคิวเอ็มในประเทศไทย (มทส.) ได้กำหนดจัดการประชุม THAILAND QUALITY CONFERENCE & The 22 Symposium on TQM Best Practices in Thailand ซึ่งเป็นการประชุมวิชาการเพื่อเพิ่มความรู้และแนวทางระบบการจัดการของ TQM ที่องค์กรต่างๆ ได้นำไปใช้และประสบผลสำเร็จพร้อมนำเสนอบทความที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือก และการนำเสนอผลงานที่เป็นแบบอย่างที่ดีจากหน่วยงานต่างๆ โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-10 กันยายน 2564 ณ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

        ในการนี้ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จึงขอเชิญชวนบุคลากรในสังกัดของท่านส่งบทความ/ผลงาน ของการดำเนินงานที่เป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จะดำเนินการคัดเลือกบทความ/ผลงาน ขององค์กรที่มีระบบการบริหารจัดการที่เป็นแบบอย่างที่ดีในด้านต่างๆ เพื่อนำเสนอในงานประชุมวิชาการครั้งนี้ โดยสามารถส่งบทคัดย่อเพื่อพิจารณาเบื้องต้น ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 9 เมษายน 2564 ทั้งนี้ สามารถดาวน์โหลดใบสมัครและดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ftqm.or.th 

THAILAND QUALITY CONFERENCE & The 22nd Symposium on TQM Best-Practices in Thailand

            การประชุม Symposium on TQM-Best Practices in Thailand จัดขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์ของผู้ประยุกต์ใช้ TQM ในประเทศไทย แล้วเกิดผลสำเร็จ เพื่อแสวงหาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดนำมา ขยายผลให้เป็นที่รับรู้และ เรียนรู้กันอย่างกว้างขวาง โดยจัดขึ้นครั้งแรกในเดือนมีนาคม 2543 และจัดต่อเนื่องมาทุกปีเป็นเวลากว่า 20 ปี

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติในองค์กรที่ได้นำระบบบริหารทีคิวเอ็มมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย ได้นำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันเกี่ยวกับ แนวคิด เทคนิค วิธีการ ประสบการณ์ อุปสรรค ปัญหา ตลอดจนแนวทาง วิธีการแก้ไขในการนำทีคิวเอ็มมาประยุกต์ใช้เพื่อแสวงหา “แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด (The Best Practices)” ในแต่ละสาขาของการบริหาร
  2. เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นและความมีประสิทธิผลในการส่งเสริมทีคิวเอ็มให้แพร่หลาย อย่างรวดเร็วในประเทศไทยและก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐ สมาคม สถาบัน และบริษัทที่ปรึกษา ฯลฯ ที่ทำหน้าที่ในการส่งเสริมทีคิวเอ็มอยู่ในประเทศไทย
  3. เพื่อก่อให้เกิดการสะสมและถ่ายทอดประสบการณ์ของผู้ที่ประสบความสำเร็จในการนำทีคิวเอ็มมาประยุกต์ใช้ให้เป็นที่รับรู้และเรียนรู้กันอย่างกว้างขวางทั้งในแวดวงธุรกิจ และวิชาการ ด้านอุตสาหกรรมการผลิต การบริการ การศึกษา และการบริหารของภาคเอกชน และภาครัฐบาล
 

admin

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ใส่ความเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.