วันพุธ, พฤษภาคม 15, 2024
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ข่าวประชาสัมพันธ์

ประชาสัมพันธ์การวิจัยเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ

กรอบวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567

—————————————-

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถแก้ไขปัญหาท้าทายและปรับตัว ได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยใช้วิทยาศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม

แผนงาน : (P17) พัฒนาและประยุกต์ใช้มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์เพื่อส่งเสริมคุณค่าและความงอกงามของศิลปะและวัฒนธรรมให้เป็นทุนสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เป็นอารยะอย่างยั่งยืนและปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลง

แผนงานย่อย : N34 วิจัยและพัฒนามนุษย์กับความสัมพันธ์ทางสังคมและเทคโนโลยี

แผนงานย่อยรายประเด็น : การวิจัยเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและการพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

ที่มาและความสำคัญ และความสอดคล้องกับแผนด้าน ววน. (ถ้ามี)

ความเหลื่อมล้ำ เป็นการกล่าวถึงความไม่เท่าเทียมกันระหว่างผู้ที่มีโอกาสกับผู้ที่ขาดโอกาส ซึ่งโอกาสในที่นี้คือ โอกาสในการเข้าถึง การพัฒนาอาชีพ การศึกษาเรียนรู้ และเทคโนโลยี รวมทั้งการจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ในสังคม ซึ่งล้วนส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ซึ่งหมายถึง ความสามารถในการดำรงชีวิตในระดับที่เหมาะสมตามความจำเป็นพื้นฐาน สอดคล้องตามสภาวะทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สภาพแวดล้อมในการดำเนินชีวิตและทรัพยากรที่มีอยู่ รวมทั้งสามารถใช้ศักยภาพส่วนบุคคลสร้างสรรค์พัฒนาตนเองและสังคมให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข ทั้งนี้การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนพื้นฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่น ทำให้เกิดการยกระดับมูลค่าให้สูงขึ้น จนนำไปสู่การได้รับการรับรองมาตรฐานหลากหลายประเภท โดยสามารถเชื่อมโยงสู่การท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งอาศัยผู้ประกอบการในชุมชนเพื่อให้ได้รับการยกระดับทักษะและการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่มีคุณค่าจากชุมชน ให้เป็นที่ยอมรับและเพียงพอต่อความต้องการของตลาด และมีทักษะในการเชื่อมโยง สร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม ในธุรกิจการท่องเที่ยวและใกล้เคียงในการใช้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ส่งผลให้เกิดเป็นกลไกธุรกิจการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อสังคม (CBT-SE) ในการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนและเพิ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพให้กับแหล่งท่องเที่ยวชุมชน

การดำเนินงานข้างต้น มีต้นทุนเดิม ในเรื่องของการพัฒนาพื้นที่ชุมชนและท้องถิ่น โดยใช้อัตลักษณ์ ภูมิปัญญา วัฒนธรรม หรือศิลปกรรม เชื่อมโยงสู่การท่องเที่ยว โดยการขับเคลื่อนให้เกิดการต่อยอดขยายผลในประเด็นต่างๆ โดยการใช้ผลงานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่มีอยู่เดิมโดยมุ่งเน้นในการเชื่อมโยงสร้างสรรค์ และประยุกต์กับศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ เพื่อการส่งเสริมคุณค่า ความงอกงามของศิลปวัฒนธรรม โดยพัฒนาทรัพยากร ควบคู่กับการพัฒนากำลังคนเพื่อหนุนเสริมการยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อเป็นชุมชนต้นแบบการบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนและภาคีเครือข่ายในพื้นที่มีศักยภาพ รวมทั้งยกระดับการท่องเที่ยวสู่ระดับสากล ถือเป็นการวิจัยเพื่อลดความเหลื่อมลํ้าและการพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาและสร้างการขับเคลื่อนและพัฒนาพื้นที่ ชุมชน และสังคม ให้เกิดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดี อีกทั้งสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

เป้าหมาย

  1. เพื่อศึกษาสาเหตุและปัจจัยที่มีผลต่อความเหลื่อมล้ำทางสังคมและวัฒนธรรม ของคนในพื้นที่และชุมชน เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาและสร้างกลไกสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและชุมชนเป้าหมาย
  2. พัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ทางสังคม และวัฒนธรรมด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน รวมทั้งสามารถลดความเหลื่อมลํ้าระหว่างพื้นที่
  3. เพื่อสร้างเครือข่ายบูรณาการความร่วมมือและพัฒนางานวิจัยเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร และศิลปกรรมศาสตร์ของศิลปวัฒนธรรม

ผลผลิต

  1. ได้ข้อมูลสาเหตุและปัจจัยที่มีผลต่อความเหลื่อมล้ำทางสังคม และวัฒนธรรม รวมทั้งแนวทางการลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่และชุมชน
  2. ผลิตภัณฑ์/เส้นทางการท่องเที่ยว ที่เชื่อมโยงกับฐานอัตลักษณ์ชุมชนที่ก่อให้เกิดรายได้หรือการกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนท้องถิ่น
  3. ผลิตภัณฑ์ด้านศิลปกรรมศาสตร์สำหรับการส่งเสริมคุณค่า ความงอกงามของศิลปวัฒนธรรมที่ได้รับการพัฒนาต่อยอดขยายผลและได้รับมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ และก่อให้เกิดผลทางเศรษฐกิจหรือเกิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์
  4. เกิดเครือข่ายบูรณาการความร่วมมือและผู้สืบสานถ่ายทอด เพื่อการต่อยอด และ/หรือนำ ผลงานวิจัย องค์ความรู้เทคโนโลยี และนวัตกรรม ด้านศิลปกรรมศาสตร์ ไปใช้ประโยชน์ ในการลดความเหลื่อมล้ำและพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชน

กรอบการวิจัยและนวัตกรรม

  1. การกระจายความเจริญของเมืองและชนบท โดยการใช้ทุนศิลปะและวัฒนธรรมเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเพื่อให้เกิดการกระจายและยกระดับชุมชนทั้งในเขตเมืองและชนบท
  2. การพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่สนับสนุนการยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีความโดดเด่นด้านศิลปกรรม สู่ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง
  3. การยกระดับผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมการท่องเที่ยวในเชิงด้วย การยกระดับและเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการโดยอาศัยทุนทางศิลปวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ เชื่อมโยงกับภูมิปัญญาไทยและวัฒนธรรมของท้องถิ่น รวมทั้งรากฐานชีวิตความเป็นอยู่ที่แท้จริงของชนชาติไทยในแต่ละให้เกิดความโดดเด่นและแตกต่าง BCG Model ที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด
  4. การพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมสำหรับชุมชน โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาเฉพาะบุคคล
  5. การบริหารจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาองค์กรและบุคลากรพื้นถิ่น ในการปฏิบัติหน้าที่ที่ความเกี่ยวข้องกับมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ เพื่อการอนุรักษ์ภูมิหลังและเห็นคุณค่าในอัตลักษณ์ของตน ตลอดจนถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม เหล่านี้ให้แก่ชนรุ่นหลังสืบต่อไป

     ประเด็นมุ่งเน้น

  1. การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเหลื่อมล้ำความเหลื่อมล้ำทางสังคม และวัฒนธรรม ในพื้นที่และชุมชน เพื่อนำมาใช้ในการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ และพัฒนาคุณภาพชีวิต ของคนในชุมชน
  2. การนำศิลปะและวัฒนธรรม และอัตลักษณ์ท้องถิ่น ผ่านการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ พร้อมกับเชื่อมโยงการท่องเที่ยว การทำให้เกิดมาตรฐานและการสร้าง Technopreneur
  3. การยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยใช้ทุนมนุษยศาสตร์ ทุนทางด้านสังคมและศิลปกรรม ในพื้นที่ เพื่อสนับสนุนการเข้าสู่เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกของประเทศไทย
  4. การพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพื่อรองรับการสร้างผลิตภัณฑ์ การจัดการความรู้ และการส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนมูลค่าสูง ที่แสดงให้เห็นคุณค่าทางสังคม และศิลปกรรมของชุมชนอย่างชัดเจน

ดาวน์โหลดไฟล์ –> การวิจัยเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ

admin

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย